ผู้เขียน หัวข้อ: อาการโรคเบาหวาน ปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อน  (อ่าน 33 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 149
  • ขาย เช่า บริการ ลด แลก แจก แถม แห่งใหม่ ลงประกาศได้ไม่จำกัด เว็บลงโฆษณาฟรี ประกาศขายสินค้าออนไลน์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้าใหม่หรือมือสอง ประกาศขายบ้าน ขายรถ.ลงประกาศฟรีออนไลน์ โพสฟรี
    • ดูรายละเอียด
อาการโรคเบาหวาน ปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อน
« เมื่อ: วันที่ 3 ตุลาคม 2024, 16:05:03 น. »
อาการโรคเบาหวาน ปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อน

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคอันตราย อาการโรคเบาหวานอาจสร้างความลำบากในการใช้ชีวิต รวมถึงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทุกข์ทรมานจากอาการที่เกิดขึ้น อาการโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นอาจเหมือนหรือแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด นอกจากนี้ ยังมีอาการจากภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยได้ไม่น้อย ซึ่งหากผู้ป่วยละเลยการรักษาและการดูแลตนเอง อาการโรคเบาหวานอาจรุนแรงขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนอีกด้วย

โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ภาวะดื้ออินซูลิน หรือ มีฮอร์โมนอื่นออกฤทธิ์ต้านอินซูลิน ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินนี้มีหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลิน ผลิตได้น้อย หรือทำงานไม่ได้เต็มที่ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานอื่น ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดอาการของโรคเบาหวานขึ้น


อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดนั้นมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันตามแต่ละชนิด  ดังนี้

อาการทั่วไป

    อาการเหล่านี้เป็นอาการทั่วไปของโรคเบาหวาน ซึ่งอาจปรากฏขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวานทุกคน ไม่ว่าจะชนิดได้ก็ตาม โดยผู้ป่วยอาจมีอาการ เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ อยากอาหารมากขึ้น อ่อนเพลีย สายตาพร่ามัว ปากแห้ง คันตามผิวหนัง รอยช้ำหรือรอยแผลจะหายช้า เป็นต้น

   
อาการโรคเบาหวานชนิดที่ 1

    โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักเกิดในคนอายุน้อย เป็นภาวะที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด สาเหตุอาจมาจากความผิดปกติของยีนส์รวมกับปัจจัยแวดล้อมบางอย่าง ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัด ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ จึงจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนทดแทนอยู่เสมอ โดยอาการที่อาจพบผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เช่น ปัสสาวะรดที่นอนในเด็กที่ควบคุมการขับถ่ายได้แล้ว น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ มักหงุดหงิดง่ายและอารมณ์เปลี่ยนแปลง ภาวะขาดน้ำ และภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน (Diabetic ketoacidosis) เป็นต้น และหากไม่รับการรักษามีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ไตเสียหาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดแดงแข็ง นอกจากนี้ หากผู้ป่วยหายใจลำบาก  หายใจสั้นและถี่ ลมหายใจมีกลิ่นผลไม้ ปวดท้อง หรือหมดสติ ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

   
อาการโรคเบาหวานชนิดที่ 2

    โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคที่ไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นโรคที่อาจเกิดจากความผิดปกติของยีนและปัจจัยที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อย่างการรับประทานอาหารที่ไม่หมาะสม ไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักเกินเกณฑ์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน แม้ว่ายังสามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้แต่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อสู้กับภาวะดื้ออินซูลินที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ได้ จึงอาจทำให้เกิดอาการ เช่น ปวดศีรษะ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อยากอาหารมากขึ้น หย่อนสมรรถภาพทางเพศ  และร่างกายอ่อนแอติดเชื้อได้ง่าย เป็นต้น นอกจากนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน อย่างผิวหนังติดเชื้อ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง การได้ยินบกพร่อง และไตวาย เป้นต้น

    ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างเช่น อายุมาก มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ขาดการออกกำลังกาย รวมถึงผู้ที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค

   
อาการโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes)

    โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีสาเหตุที่ไม่แน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดมาจากระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ มักพบในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์และหายไปเองเมื่อเด็กคลอด ส่วนใหญ่โรคหวานชนิดนี้มักไม่แสดงอาการหรือความผิดปกติให้สังเกตเห็นได้จึงอาจต้องตรวจคัดกรองเพื่อวินิจฉัย แม้ว่าโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะไม่แสดงอาการแต่สามารถส่งผลกระทบทั้งแม่และเด็กได้ อาจทำให้เด็กตัวใหญ่หรือน้ำหนักมากกว่าปกติ ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) คลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ ดีซ่านหลังคลอด หรือภาวะตายคลอดได้ นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหวานชนิดที่ 2 สูงขึ้น

การป้องกันก่อนเกิดโรคถือเป็นหัวใจสำคัญ แม้ว่าโรคเบาหวานชนิดอื่น ๆ จะไม่สามารถป้องกันได้ แต่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นอาจป้องกันได้ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่เหมาะสม ออกกำลังกาย ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อบรรเทาอาการและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายอื่น ๆ นอกจากนี้ หากมีอาการใด ๆ ที่คาดว่าอาจเป็นอาการของโรคควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างถูกต้อง