ผู้เขียน หัวข้อ: แค่ฝุ่นจางๆและควัน ก็ทำให้เสี่ยง “โรคปอด” ได้นะ  (อ่าน 15 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 148
  • ขาย เช่า บริการ ลด แลก แจก แถม แห่งใหม่ ลงประกาศได้ไม่จำกัด เว็บลงโฆษณาฟรี ประกาศขายสินค้าออนไลน์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้าใหม่หรือมือสอง ประกาศขายบ้าน ขายรถ.ลงประกาศฟรีออนไลน์ โพสฟรี
    • ดูรายละเอียด
แค่ฝุ่นจางๆและควัน ก็ทำให้เสี่ยง “โรคปอด” ได้นะ
« เมื่อ: วันที่ 4 พฤศจิกายน 2024, 13:44:01 น. »
แค่ฝุ่นจางๆและควัน ก็ทำให้เสี่ยง “โรคปอด” ได้นะ

มลภาวะทางอากาศหลายอย่างเป็นสิ่งที่เราไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา คนส่วนใหญ่จึงละเลยที่จะปกป้องตัวเองจากอันตรายเหล่านี้ จนกระทั่งเกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและปอด หรืออาจเพราะมลภาวะทางอากาศหลายชนิดไม่มีกลิ่น จึงทำให้เราไม่ทันระวังและรับสารพิษเหล่านี้เข้าไปกับลมหายใจโดยไม่รู้ตัว

ไม่ใช่แค่ PM 2.5 ที่อันตรายกับทางเดินหายใจ
แม้ว่าร่างกายจะออกแบบมาให้จมูกคอยทำหน้าที่เป็นตัวกรองและดักจับเชื้อโรคที่ปะปนในอากาศที่เราหายใจ แต่ฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ก็ยังสามารถเล็ดลอดเข้าไปได้ถึงหลอดลมฝอยขนาดเล็ก และยิ่งหากมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมโครเมตร ก็จะสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด แต่ก็ไม่ใช่แค่ PM 2.5 เท่านั้นที่เราต้องระวัง เพราะในอากาศยังมีมลภาวะอื่นๆ ที่อันตรายไม่แพ้กัน อาทิ

    ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง กระบวนการอุตสาหกรรม การบด การโม่ หรือการทําให้เป็นผงจากการก่อสร้าง เมื่อหายใจเข้าไปจะสามารถสะสมในระบบทางเดินหายใจ เป็น อันตรายต่อสุขภาพ
    ก๊าซโอโซน (O3) ที่ทำให้ความสามารถในการทำงานของปอดลดลง เหนื่อยเร็ว โดยเฉพาะในเด็ก คนชรา และคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง
    ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิง ก๊าซชนิดนี้จะเข้าไปจับกับเม็ดเลือด ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย และหัวใจทำงานหนักขึ้น
    ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) มีผลต่อระบบการมองเห็นและกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
    ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานานๆ จะทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้

ไม่สูบ แค่สูดควันหรืออยู่ใกล้…ก็เสี่ยง!
กว่า 90 % ของผู้ป่วยโรคปอดโดยเฉพาะมะเร็งปอดในปัจจุบันล้วนมีสาเหตุสำคัญมาจากการสูบบุหรี่ แต่ที่น่ากลัวกว่านั้นก็คือกว่าร้อยละ 30 ของคนที่เป็นมะเร็งปอดคือคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่จากคนใกล้ชิด และผู้ที่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะทั่วไป เพราะในบุหรี่ 1 มวนมีสารพิษกว่า 60 ชนิดที่เป็นอันตรายกับร่างกาย และสารพิษเหล่านั้นยังสามารถตกค้างอยู่ในพื้นที่ที่เคยมีคนสูบบุหรี่ได้นานถึง 6 เดือน ไม่จะไม่มีควันแล้วก็ตาม ดังนั้นแม้จะไม่สูบหรี่ก็มีโอกาสเสี่ยงโรคถุงลมปอดโป่งพอง รวมถึงเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยหอบตลอดชีวิต เพราะร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมเนื้อปอดที่ถูกทำลายจากบุหรี่ได้

ไม่แสดงอาการฉับพลัน...แต่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรง
สำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด หรือโรคทางเดินหายใจ การสูดฝุ่นละอองที่เป็นพิษอาจจะแสดงผลในทันที แต่สำหรับบางคนที่สุขภาพร่างกายแข็งแรง การสูดฝุ่นละอองอาจไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันทันที แต่จะไปสมสะอยู่ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ก่อให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคทางสมอง และโรคมะเร็งได้ในระยะยาว


ผิดปกติแบบนี้ พบแพทย์ทันที ก่อน “ปอด” พัง
โดยธรรมชาติแล้วปอดมักจะไม่แสดงอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ทุกคนจึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง หากมีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด ไอรักษาไม่หาย หอบเหนื่อย แน่นเจ็บชายโครง เจ็บหน้าอก หายใจแล้วเจ็บ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีไข้ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ ปอดของเราอาจถูกโรคร้ายทำลาย จนไม่อาจฟื้นฟูกลับมาได้ดังเดิม “หมั่นตรวจสุขภาพปอดประจำปี ไม่ต้องมีอาการก็ตรวจได้”