ผู้เขียน หัวข้อ: บ้านหมุน อาจเสี่ยงโรคร้าย อันตรายกว่าที่คิด  (อ่าน 13 ครั้ง)

airrii

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 10
  • ขาย เช่า บริการ ลด แลก แจก แถม แห่งใหม่ ลงประกาศได้ไม่จำกัด เว็บลงโฆษณาฟรี ประกาศขายสินค้าออนไลน์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้าใหม่หรือมือสอง ประกาศขายบ้าน ขายรถ.ลงประกาศฟรีออนไลน์ โพสฟรี
    • ดูรายละเอียด
บ้านหมุน อาจเสี่ยงโรคร้าย อันตรายกว่าที่คิด
« เมื่อ: วันที่ 18 พฤศจิกายน 2024, 15:49:55 น. »
อาการบ้านหมุน หรือการเวียนศีรษะ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย และเป็นอาการที่หลายคนก็เคยประสบกับตัวเอง ทำให้หลายคนมองว่าอาการบ้านหมุนนั้นเป็นอาการทั่วๆ ไป ไม่มีอะไรร้ายแรง แต่ความจริงแล้วอาการบ้านหมุนเป็นสัญญาณที่สามารถบ่งบอกถึงโรคร้ายต่างๆ ได้

เวียนศีรษะ กับ เวียนศีรษะบ้านหมุน ต่างกันอย่างไร?
อาการเวียนศีรษะ กับ เวียนศีรษะบ้านหมุน ต่างกันตรงที่ อาการเวียนศีรษะ เป็นคำที่บ่งบอกถึงอาการที่ค่อนข้างกว้าง โดยมีลักษณะอาการตั้งแต่มึนศีรษะ งุนงง โคลงเคลง หวิวๆ รวมถึงมีอาการยืนหรือเดินทรงตัวไม่ดี โดยอาการนี้มักมีสาเหตุมาจากสภาวะต่างๆ ที่ไม่เฉพาะเจาะจงไป ประกันสุขภาพ



ส่วนอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน หมายถึงแค่เฉพาะอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุนหรือโคลงเคลงเท่านั้น ซึ่งอาการนี้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของอวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่คอยรับการทรงตัวสมดุลของร่างกาย

โดยเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นจะทำให้มีอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุนๆ รู้สึกว่ารอบตัวหมุน หรือตัวเองหมุนทั้งๆ ที่อยู่กับที่หรือไม่มีการเคลื่อนไหว และสำหรับรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ มีเสียงในหู ซึ่งอาการนี้มีความน่ากลัวอีกอย่างตรงที่ เมื่อเวียนศีรษะบ้านหมุนจะเสียการทรงตัว ทำให้เสี่ยงต่อการล้มหรืออุบัติเหตุต่างๆ ได้นั่นเอง

โรคที่เป็นสาเหตุทำให้เวียนหัว
อาการเวียนหัวสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เพราะเป็นอาการที่ค่อนข้างกว้าง และสามารถเกี่ยวโยงไปได้หลายโรค ซึ่งหนึ่งในนั้น ได้แก่
1. โรคหินปูนในหูชั้นใน หรือ BPPV
ซึ่งหมายถึงโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในผู้ที่มีอาการเวียนหัวจากโรคทางหู เนื่องจากตะกอนหินปูนในหูชั้นใน เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสำหรับการทรงตัวของร่างกาย ซึ่งการเกิดตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อนเกิดจากการเปลี่ยนตำแหน่งของตะกอนหินปูนในหูชั้นในที่ผิดไปจากตำแหน่งเดิม

2. โรคเวียนศีรษะจากไมเกรน
สำหรับผู้ที่มีอาการป่วยไมเกรน นอกจากอาการปวดหัวแล้วมักมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย โดยจากสถิติอาการเวียนศีรษะนั้นพบร่วมกับอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ถึง 1 ใน 3 โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เป็นไมเกรนแบบมีอาการเตือน (Migraine with aura) ที่จะพบอาการเวียนศีรษะมากกว่ากลุ่มคนที่เป็นไมเกรนแบบไม่มีอาการเตือนถึง 2 เท่า

3. โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
เป็นที่ความผิดปกติของหูชั้นใน ที่ภาวะน้ำในหูชั้นในคั่งหรือมีความดันเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้อาการผิดปกติดังกล่าวอาจพบได้ในโรคของหูชั้นนอกหรือชั้นกลาง รวมทั้งโรคทางสมองและระบบเส้นประสาทก็ได้ ซึ่งผู้ป่วยในโรคนี้ควรไปตรวจเพื่อหาสาเหตุการเกิดเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ซื้อประกันให้พ่อแม่



4. โรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต
บางครั้งการเวียนศีรษะก็มาจากระบบหมุนเวียนโลหิตที่ผิดปกติ อาจเกิดจากความดันโลหิตต่ำ หรือความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคของหัวใจที่ล้วนส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัว หน้ามืด หรือควบคุมการทรงตัวได้ยากเนื่องจากหัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอนั่นเอง

5. โรคที่เกิดจากความเครียด
หรือโรคทางจิตเวช ผู้ที่เวียนศีรษะด้วยสาเหตุนี้ จะเกิดอาการเวียนหัวอย่างมากเมื่ออยู่ในที่แออัด ที่แคบ หรือแม้กระทั่งในที่โล่ง ที่สูง ซึ่งอาการจะหายไปเมื่อไม่อยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว

เมื่อเกิดอาการเวียนหัว บ้านหมุนควรทำอย่างไร?
    * อันดับแรกเมื่อเกิดอาการบ้านหมุน ควรหยุดนั่งพัก หรือควรนอนพักสักครู่จนกว่าอาการจะดีขึ้น
    * ลำดับถัดมาให้หลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจไปกระตุ้นให้เกิดอาการแย่ลง เช่น การเปลี่ยนท่าเร็วๆ หรือการก้มหรือเงยคอนานๆ
    * พยายามนอนบนพื้นราบ และอยู่นิ่งๆ ไว้สักครู่ เพราะหากเดินอาจทำให้ทรงตัวไม่ได้ และเกิดการล้มได้
    * การรักษาในระยะยาว เช่น การออกกำลังกายบริหารอวัยวะด้วยท่าหรือเฉพาะจุด สำหรับคนที่ป่วยหรือมีอาการป่วยด้วยโรคนี้
จะเห็นได้ว่าเพียงแค่โรคเล็กๆ น้อยๆ ก็นำไปสู่โรคหรืออาการที่น่ากลัวและเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้นเราจึงไม่ควรใช้ชีวิตอยู่กับความประมาท ควรรู้จักวางแผนชีวิตและสุขภาพในระยะยาว อย่างเช่นการซื้อประกันสุขภาพโรคร้ายแรง

สำหรับคนที่ป่วยด้วยอาการเล็กๆ น้อยๆ แต่ซ้ำๆ บ่อยๆ ก็ไม่ควรมองข้าม ควรเข้าไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด ไม่ควรชะล่าใจก่อนที่โรคเล็กน้อยเหล่านั้น จะกลายเป็นโรคที่ร้ายแรงเกินกว่าจะรักษาให้หายขาด


เมนู แกงเลียง เคียงรัก จากเชฟอ๊อฟ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย
คลิก