ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดสถิติอุบัติเหตุและการบาดเจ็บของคนไทย ภัยที่ไม่ธรรมชาติ  (อ่าน 40 ครั้ง)

airrii

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 10
  • ขาย เช่า บริการ ลด แลก แจก แถม แห่งใหม่ ลงประกาศได้ไม่จำกัด เว็บลงโฆษณาฟรี ประกาศขายสินค้าออนไลน์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้าใหม่หรือมือสอง ประกาศขายบ้าน ขายรถ.ลงประกาศฟรีออนไลน์ โพสฟรี
    • ดูรายละเอียด
ในชีวิตมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราสามารถเลือกดัวยตัวเองได้ แต่ก็มีอีกหลายอย่างเช่นกันที่เลือกไม่ได้ เช่นเดียวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับตัวเราอยู่เสมอซึ่งเป็นสิ่งที่เลือกไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ แต่อาจสามารถเลี่ยงได้ การเกิดอุบัติเหตุของคนไทย มีด้วยกัน 2 ประเภทหลัก คือ อุบัติเหตุและบาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน และ อุบัติเหตุบนท้องถนน ซื้อประกันชีวิต



อุบัติเหตุและบาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน
สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ในปี 2556 – 2560 จากสำนักงานกองทุน ทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ระบุ 3 ปัจจัยหลักการบาดเจ็บของคนไทยได้แก่

- บาดเจ็บจากการโดนบาดหรือทิ่มแทง 23.42%
- บาดเจ็บจากการโดนวัตถุหล่นทับ 16.31%
- บาดเจ็บจากการโดนกระแทกหรือชน 13.94%

โดยตัวเลขจำนวนลูกจ้างหรือพนักงาน ที่ประสบอุบัติเหตุและบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานมีตัวเลขลดลง ซึ่งปี 2556 มีลูกจ้างประสบอุบัติเหตุและบาดเจ็บถึง 111,894 ราย ต่อมา ในปี 2560 ลดลงเป็น 86,278 ราย เรียกได้ว่ามีตัวเลขลดลงอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ตัวเลขที่ลดลงอาจเป็นสัญญาณที่ค่อนข้างดี แต่ชี้ให้เห็นว่าอุบัติเหตุและการบาดเจ็บเกิดขึ้นได้เสมอในทุกที่ ทุกเวลา

นอกจากนั้น คนส่วนมากอาจคิดว่าอุบัติเหตุจะไม่มีทางเกิดขึ้น ถ้าหากเราอยู่ในพื้นที่ที่คุ้นชิน หรือคิดว่าปลอดภัย เช่น บ้าน ซึ่งเราทุกคนให้ความสำคัญกับบ้านว่าเป็นที่ที่อุ่นใจ สบายใจ ปลอดภัย ไร้กังวล แต่ในความจริงแล้วไม่มีที่ไหนปลอดภัยและสามารถวางใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แม้เราอยู่บ้านแต่ก็มีโอกาสจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น มีดบาด หกล้ม น้ำร้อนลวก เดินสะดุด เป็นต้น

กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลว่าสาเหตุอันดับที่ 2 ของการเสียชีวิตรองจากอุบัติเหตุบนท้องถนน คือ อุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม จากข้อมูลผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มทั่วโลกมีประมาณ 424,000 คน ต่อปี และ ปีละ 2,000 กว่าคนในประเทศไทยและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความเสี่ยงของการพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้นสูงตามอายุ ยิ่งอายุมากร่างกายนั้นแข็งแรงน้อยลงจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้นนั้นเอง



อุบัติเหตุและการบาดเจ็บที่เรานำมาพูดในข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลที่เล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งอาจจะเกิดได้จากหลากหลายกรณีที่เราไม่คาดคิด ถึงแม้เราจะระวังมากแค่ไหนเปอร์เซ็นต์ที่อาจจะเกิดขึ้นก็ยังคงมีอยู่ดี นอกเหนือจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บที่เล็กน้อยที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ประเทศไทยมีอุบัติเหตุที่เราทุกคนรับรู้และพยายามระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้นในทุกช่วงวัย เรามาพูดถึงอุบัติเหตุที่มีผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมาก (ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี) ก็คือ

อุบัติเหตุบนท้องถนน ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ยังมีผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมหาศาล และเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก จากการรายงานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ในปี ค.ศ. 2018 พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วทุกภูมิภาคของโลกเพิ่มขึ้นเป็น 1.35 ล้านคนต่อปี หรือมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 22,491 คน การบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อยในภาพรวม มีสถิติผู้เสียชีวิตลดลงจากประมาณการครั้งที่ผ่านมาขององค์กรอนามัยโลก 2,000 คน แต่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงที่สุดอันดับหนึ่งในเอเชียและในภูมิภาคอาเซียน

ข้อมูลรายงานคดีอุบัติเหตุจราจรทางบกที่ได้รับแจ้งในปี พ.ศ. 2562 (ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 ธันวาคม 2562) ถูกบันทึกในระบบสารสนเทศสถานีตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (CRIMES) พบว่า มีจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนน 74,958 ครั้ง

สถิติจำนวนผู้เสียชีวิจากอุบัติเหตุจราจรทางบกที่ได้รับแจ้ง ประจำปี พ.ศ. 2562 พบว่า มีผู้เสียชีวิต 8,673 ราย ผู้เสียชีวิตเพศชาย จำนวน 6,493 คน (ร้อยละ 74.9) ผู้เสียชีวิตเพศหญิง จำนวน 2,180 คน (ร้อยละ 25.1) เสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ จำนวน 4,295 คน (ร้อยละ 49.5) และเสียชีวิตที่โรงพยาบาล จำนวน 4,378 คน (ร้อยละ 50.5) ผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวน 5,323 คน

จำนวนคนเดินและยานพาหนะ ที่เกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกที่ได้รับแจ้งและ ถูกบันทึกไว้ในระบบ CRIMES มีจำนวน 194,410 คน (กรณีเกิดกับคนเดินเท้านับเป็นจำนวนคน) พบว่า ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่งและรถบรรทุกขนาดเล็ก (ปิคอัพ) ตามลำดับ สำหรับยานพาหนะอื่น ๆ เป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุประเภทของยานพาหนะไว้

อ้างอิงข้อมูลจาก

- “เปิดมุมมองสะท้อนความจริงของผู้เปราะบางบนถนน (VRUs)” Vulnerable Road Users : VRU ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล บรรณาธิการ , กรกฎาคม 2562

- รายงาน การวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน ของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2562

- สำนักงานกองทุนทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน



ตรวจสุขภาพเบื้องต้นผ่านการสแกนใบหน้า ด้วยเทคโนโลยี AI
คลิก
https://www.youtube.com/watch?v=dtknfEen710